วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

(กิดานันท์ มลิทอง. 2540: 269)สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม

(วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2542 : 53) Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน(วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)

สื่อหลายมิติ คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม

ลักษณะของข้อความหลายมิติ(Hypertext)

(ธนะพัฒน์ ถึงสุข และ ชเนนทร์ สุขวารี, ..: 84)ข้อความหลายมิติ (Hypertext) เป็นระบบย่อยของ สื่อหลายมิติ(Hypermedia)เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจในตอนใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ(น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2542 : 53 ; วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53) ลักษณะของHypertext ที่เห็นกันโดยทั่วไป เช่น Helpของ Windows ซึ่งจะมีข้อความอธิบายในเรื่องหนึ่งอยู่ แต่เมื่อมีคำเฉพาะหรือคำที่สามารถอธิบายในรายละเอียดได้อีก คำนั้นจะถูกเชื่อมไปยังข้อความหรือไฟล์อีกไฟล์หนึ่งเพื่อให้ผู้ใช้เรียกดู

รูปแบบของข้อความหลายมิติมีลักษณะของการเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นเส้นตรงในมิติเดียว ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อหาข้อมูลในมิติอื่น ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามเนื้อหา ทั้งนี้เพราะ ข้อความหลายมิติมีการตัดข้อมูลเป็นส่วนย่อยเป็นตอน ๆ เรียกว่า จุดต่อ” (nodes) และเมื่อผู้อ่านเรียกจุดต่อขึ้นมาอ่านเราเรียกว่า การเลือกอ่าน” (browse)

จุดต่อที่ผู้อ่านจะเรียกมาใช้อ่านนั้นก็เมื่อจุดต่อนั้นมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือเนื้อหาที่กำลังอ่านอยู่นั้น จุดต่ออาจจะประกอบด้วยคำเพียง 2 – 3 คำ หรือเป็นข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นก็ได้

การติดต่อกันของจุดต่อนี้เกิดจากการ เชื่อมโยง” (link) ซึ่งผู้อ่านสามารถกระโดดข้ามจากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการคลิกเมาส์ที่ปุ่ม” (button) ซึ่งอาจทำไว้ในลักษณะตัวอักษรดำหนา ตัวอักษรสี ตัวขีดเส้นใต้ แถบดำ จุดดำ สัญลักษณ์ เช่น อาจเป็นรูปตาถ้าต้องการแสดงจุดต่อของรูปภาพ หรือทำเป็นรูปลำโพง หรือไมโครโฟนเพื่อเสนอเสียงพูดหรือเสียงดนตรีก็ได้

ข้อมูลที่บรรจุในข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เสมือนกับเป็นบัตรหรือแผ่นฟิล์มใสหลายๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ (stacks) ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้ โดยที่แผ่นแรกจะเป็นข้อมูลเริ่มต้นเพื่อให้อ่านและสามารถใช้เป็นรายการเพื่อพาดพิงหรือค้นคว้าไปถึงข้อมูลในแผ่นอื่น ๆ ต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมย่อย ๆ หรือจุดต่อนี้จะปรากฏในกรอบเล็กหรือหน้าต่างเพื่ออธิบายข้อมูลเริ่มต้นนั้นให้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น และจะดึงออกมาได้มากน้อยเท่าไรก็ได้ตามความต้องการต่อจากนั้นผู้อ่านก็สามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาข้อมูลที่สนใจต่อไปได้ และสามารถดึงจุดต่อออกมาใช้ได้ทุกเวลาตามต้องการ

จากความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติที่ได้ทราบไปแล้วนั้นว่าจะเสนอข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพกราฟิกอย่างง่ายๆ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น ไฮเปอร์มีเดีย” (Hypermedia) หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า สื่อหลายมิติ

จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ (Hypermedia)

1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น(Browsing) สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ

2. ใช้เพื่อการการเชื่อมโยง (Linking) โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลต่างๆ ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอก เช่น การเชื่อมต่อกับ Intranet Internet เป็นต้น

3. ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring)สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง

สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน

จากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่าง ๆ แล้วในปัจจุบัน

ตัวอย่างการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน เช่น โรงเรียนฟอเรสต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ใช้สื่อหลายมิติตั้งแต่ปี ค.. 1990 เป็นต้นมา โดยใช้ในลักษณะบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหาเนื้อหาข้อมูลจากห้องสมุดแล้วรวบรวมภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงจากแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล แล้วทำการสร้างบทเรียนโดยการใช้ Hypercard และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการบันทึกข้อมูลเช่น ใช้เครื่องกราดภาพในการบันทึกภาพถ่าย ส่วนภาพเคลื่อนไหวและเสียงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ และเนื้อหาบางส่วนบันทึกจากแผ่นซีดี รอมด้วย เนื้อหาถูกเชื่อมโยงโดย ปุ่มเพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการเลือกเรียนและศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ นอกจากนี้ ยังมีการเขียนบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่นToolBook และ AuthorWare ด้วย

ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้

1. เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที

2. ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ

- ดูแผนภาพหรือภาพวาด

- ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์

- ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect

3. ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน

4. ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map)ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น

5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก

6. ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น